เกาะหมาก: แบบจำลองการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน ศักยภาพและปัจจัยความสำเร็จ
รหัสดีโอไอ
Creator สุเมธ จันทร์สุทนพจน์
Title เกาะหมาก: แบบจำลองการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน ศักยภาพและปัจจัยความสำเร็จ
Contributor เสรี วงษ์มณฑา, ชุษณะ เตชคณา
Publisher สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย
Publication Year 2568
Journal Title สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย
Journal Vol. 14
Journal No. 1
Page no. บทความที่ 28
Keyword การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, เกาะหมาก, ความยั่งยืน, การจัดการทรัพยากร, การมีส่วนร่วมของชุมชน
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS
Website title https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/286641
ISSN 2985-2684
Abstract งานวิจัยนี้ศึกษาศักยภาพและปัจจัยความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะหมาก จังหวัดตราด โดยใช้แนวทางวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ 25 คน ครอบคลุมภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา และชุมชน ผลการวิจัยพบว่า เกาะหมากมีศักยภาพสูงด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประกอบด้วย 1) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว 2) การจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน 3) การให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และ 4) การมีส่วนร่วมของชุมชน นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยความสำเร็จ 5 ประการ ได้แก่ 1) การจัดการสิ่งแวดล้อม 2) การจัดการความรู้ 3) การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ 4) การยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยว และ 5) การมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหมากไม่เพียงมุ่งเน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ยังรวมถึงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การบูรณาการความรู้ทางวิชาการ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในพื้นที่อื่นๆ และเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับการวางแผนด้านการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคและประเทศ
Political Science Association of Kasetsart University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ