![]() |
การประเมินผลการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กรรณิกา สุวรรณา |
Title | การประเมินผลการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Contributor | ประภัสสร ดำแป้น, สุภาวิดา พิพิธกุล, กชกร กองไธสง |
Publisher | มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 45-68 |
Keyword | การประเมินผล, แผนปฏิบัติราชการประจำปี, ปีงบประมาณ |
URL Website | http://journalhuso.pnu.ac.th/ |
Website title | วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
ISSN | 2985-0258 |
Abstract | การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน มีการจัดทำแผน/โครงการ บริหารโครงการและใช้จ่ายงบประมาณตามแผน รายงานความก้าวหน้าและผลการใช้จ่ายงบประมาณในระบบบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ โดยการประเมินแผนปฏิบัติราชการฯ ไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง มีการรายงานความก้าวหน้าและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่ครบถ้วน และไม่ทันเวลา ทำให้ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานได้ครบถ้วน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และปัญหาอุปสรรคการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) บุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จำนวน 43 คน 2) บุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 42 คน 3) โครงการ จำนวน 47 โครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ด้านบริบท 1) แผนฯ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (100.0%) แผนแม่บทที่ 13 (91.49%) แผนแม่บทที่ 23 (8.51%) แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4 (74.47%) ตามลำดับ แผนยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุมโรค 20 ปียุทธศาสตร์ที่ 1 (48.94%) แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) กรมควบคุมโรค ในแผนงานภายใต้ระบบควบคุมโรค (48.94%) วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจหน่วยงาน และปัญหาในพื้นที่ (100.0%) 2) ความรู้ความเข้าใจ การถ่ายทอดนโยบาย ระยะเวลาการสนับสนุนของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องระดับมาก ปัจจัยนำเข้า (บุคลากร งบประมาณเทคโนโลยี/ครุภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์) ระดับมาก ด้านกระบวนการ (ถ่ายทอดนโยบาย นำแผนฯ สู่การปฏิบัติและประเมินผล) ระดับมาก สรุป การใช้จ่ายงบประมาณ 92.58 % เบิกจ่ายตามเป้าหมาย (100%) 85.10 % และ 70.21 % ของโครงการบรรลุตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย มีการประสานแผนกับจังหวัด (100%) |