![]() |
การวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้บทเพลงรองเง็งพื้นบ้านปัตตานีในการสอนวิชาดนตรีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วสวัตติ์ นวลนาค |
Title | การวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้บทเพลงรองเง็งพื้นบ้านปัตตานีในการสอนวิชาดนตรีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Contributor | ดนีญา อุทัยสุข |
Publisher | มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 19-44 |
Keyword | รองเง็ง, ปัตตานี, เพลงพื้นบ้านภาคใต้, การสอนดนตรี, ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
URL Website | http://journalhuso.pnu.ac.th/ |
Website title | วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
ISSN | 2985-0258 |
Abstract | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรีของบทเพลงรองเง็งพื้นบ้านปัตตานี และ 2) นำเสนอแนวทางการใช้บทเพลงรองเง็งพื้นบ้านปัตตานีสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศึกษาข้อมูลโดยการทบทวนวรรณกรรม ศึกษาเอกสารข้อมูลปฐมภูมิจากสื่อและผลงานบันทึกเสียงบทเพลงรองเง็งปัตตานี ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรองเง็งปัตตานี และการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและ ไม่มีส่วนร่วม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา และหาข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัย ตามหลักการสอนดนตรี ของแนวคิดทางดนตรีศึกษาผลการวิจัยพบว่า 1) บทเพลงรองเง็งพื้นบ้านปัตตานีที่ผู้วิจัยรวบรวมมาจากวงดนตรีรองเง็งพื้นบ้านปัตตานี 3 คณะได้แก่ คณะขาเดร์ แวเด็ง คณะเด็นดังอัสลี และวงอาเนาะบุหลัน ใช้จังหวะอินังและโยเก็ต ในการบรรเลงประกอบบทเพลง บทเพลงส่วนใหญ่บรรเลงอยู่ในบันไดเสียง G Major มีความยาวอยู่ระหว่าง15-99 จังหวะ ส่วนใหญ่มีคีตลักษณ์แบบ ABA และ AB และ 2) บทเพลงรองเง็งพื้นบ้านปัตตานีที่นำมาวิเคราะห์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทางดนตรีศึกษาได้ เช่น การขับร้องและบรรเลงดนตรีรวมกันเป็นกลุ่มและเดี่ยว การร้องเพลงประกอบการเคลื่อนไหวตามบทเพลง การร้องแบบMovable do และ Fixed do การใช้ Neutral syllable ในการร้องทำนอง การขับร้องประสานเสียง เรียนรู้ดนตรีผ่านการเลียนแบบ การด้นสด และการสร้างสรรค์ดนตรี นอกจากนี้ยังสามารถนำเนื้อหาในบทเพลงมาปรับใช้กับเนื้อหาในการสอนตามตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่เหมาะสมได้ |