![]() |
การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปั้นสิบจากประมงพื้นบ้านสู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดการอนุรักษ์และปกป้องอ่าวปัตตานีให้มีความอุดมสมบูรณ์คงคุณค่าอย่างยั่งยืน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อานีสาห์ บือฮะ |
Title | การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปั้นสิบจากประมงพื้นบ้านสู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดการอนุรักษ์และปกป้องอ่าวปัตตานีให้มีความอุดมสมบูรณ์คงคุณค่าอย่างยั่งยืน |
Contributor | รอปีอ๊ะ กือจิ, ฮัสนะห์ บุญทวี, ซากี นิเซ็ง, อิฟฟะห์ มะเกะ, อนุวัตร วอลี |
Publisher | มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 141-164 |
Keyword | ตราสินค้า, บรรจุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ปั้นสิบ, ประมงพื้นบ้าน, อ่าวปัตตานี |
URL Website | http://journalhuso.pnu.ac.th/ |
Website title | วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
ISSN | 2985-0258 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปั้นสิบจากประมงพื้นบ้านสู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดการอนุรักษ์และปกป้องอ่าวปัตตานีให้มีความอุดมสมบูรณ์คงคุณค่าอย่างยั่งยืน วิธีการดำเนินงานยึดหลักแนวคิดการร่วมสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการและสะท้อนอัตลักษณ์ของแบรนด์อย่างแท้จริง โดยการดำเนินงานใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างหน่วยธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์ปั้นสิบ อาจารย์และนักออกแบบเพื่อกำหนดแนวทางและประเมินความคิดเห็นที่มีต่องานออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ผลการวิจัยตราสินค้าที่ได้รับการออกแบบคือ “ปันตัยตานี” ซึ่งเป็นภาษามลายู หมายความว่า “ทะเลปัตตานี” ในส่วนของการกำหนดจุดขายของแบรนด์ คือผลิตภัณฑ์จากกลุ่มคนที่ทำประมงบนพื้นฐานการขอบคุณในความเมตตาของพระเจ้า ไม่ทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติที่พระเจ้ามอบให้ การทำประมงจะอยู่ภายใต้แนวคิดการอนุรักษ์และปกป้องอ่าวปัตตานี อีกทั้งแบรนด์ “ปันตัยตานี” เป็นแบรนด์ที่มีคุณค่าทั้งในแง่ตัวผลิตภัณฑ์และในแง่ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตและเป็นแบรนด์ที่สามารถสร้างคุณค่าแก่หน่วยธุรกิจประมงพื้นบ้านอ่าวปัตตานีได้ ในด้านบรรจุภัณฑ์ใช้ถุงพลาสติกแบบซิปล็อกเพิ่มฟังก์ชันในการสื่อสารกับผู้บริโภคยุคใหม่ผ่าน QR Code เพื่อระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบและกลไกการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อเน้นย้ำการสนับสนุนประมงพื้นบ้านและการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลจากการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น สร้างรายได้กับหน่วยธุรกิจในพื้นที่ อีกทั้งเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะผลักดันแนวคิดการอนุรักษ์และปกป้องอ่าวปัตตานีให้มีความอุดมสมบูรณ์คงคุณค่าอย่างยั่งยืน |