![]() |
วิธีการดำเนินงานและกระบวนการสนับสนุนรูปแบบการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนนทบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภัทรัตน์ รัตนเสถียร |
Title | วิธีการดำเนินงานและกระบวนการสนับสนุนรูปแบบการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนนทบุรี |
Contributor | ลดาวัลย์ ไข่คำ |
Publisher | มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 256-275 |
Keyword | รูปแบบการพัฒนาท้องถิ่น, ความเข้มแข็งของชุมชน, จังหวัดนนทบุรี, การเสริมความสามัคคีของชุมชน, ความร่วมมือ |
URL Website | http://journalhuso.pnu.ac.th/ |
ISSN | 2985-0258 |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินงาน และกระบวนการสนับสนุนรูปแบบการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนของจังหวัดนนทบุรี และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนารูปแบบการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนของจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพโดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเป็นคําถามแบบมีโครงสร้าง ประกอบด้วย ผู้มีตำแหน่งในการบริหารเทศบาล จำนวน 7 คน และประชาชน จำนวน 6 คน และการเข้าไปสังเกตการณ์แบบไม่กำหนดกรอบไว้ล่วงหน้าในการเก็บรวบรวมข้อมูลแนวคิดในการพัฒนาชุมชนเมืองของชุมชนต้นแบบ และนําข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการจำแนกและจัดระบบข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อสรุปอภิปรายผลการศึกษาผลการศึกษาพบว่า วิธีการดำเนินงานสนับสนุนรูปแบบการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนของจังหวัดนนทบุรี เสริมสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรค เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเทศบาล การพัฒนาทักษะของคนในชุมชน และการส่งเสริมการสื่อสารอย่างทั่วถึง ในส่วนของกระบวนการที่สนับสนุนรูปแบบการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนของจังหวัดนนทบุรีนั้น ประกอบไปด้วย 1) ผู้นําชุมชนอุทิศตนเพื่อสังคม ไม่เห็นแก่ตัวและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 2) คนในชุมชนยอมรับในคณะกรรมการชุมชน 3) ชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองสูง 4) ชุมชนได้รับงบประมาณจากเทศบาล และ 5) ชุมชนกับเทศบาลร่วมมือกันแก้ปัญหา 6) ปัจจัยด้านพื้นที่ทางกายภาพ การพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพในชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและประชาชนในการออกแบบและจัดการพื้นที่ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาวะของคนในชุมชน สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลให้ชุมชนของจังหวัดนนทบุรี ไม่เกิดความเข้มแข็ง พบว่า ผู้นําชุมชนไม่มีความเสียสละในการทำงาน ขาดการบริหารที่ดี และขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อหนุนเสริมให้เกิดการพัฒนาชุมชน พร้อมทั้งเพิ่มทักษะให้แก่คนในชุมชนเพื่อที่จะสามารถพึ่งพาตนเองและมีความสามัคคีกันภายในชุมชน |