การสยบความเครียด เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์
รหัสดีโอไอ
Creator วันอะห์หมัด แวดือเระ
Title การสยบความเครียด เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์
Contributor จิราวรรณ ราชแก้ว, ซูวัยบ๊ะห์ มะอูเซ็ง, นัสรีน นิเงาะ, นัสรีนา ดือราโอะ, นุชรี เหล็บหนู, มุฮัมหมัดซาฮีด สาแลมิง, มูฮัมหมัดฟาเดล ยาลาแว, มูฮัยมีน บืองาฉา, ฮามีด๊ะ มูสอ, ศุภกาญจน์ บัวทิพย์
Publisher มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Publication Year 2568
Journal Title วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Journal Vol. 12
Journal No. 1
Page no. 239-255
Keyword การจัดการอารมณ์, การจัดการความเครียด, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ความฉลาดทางอารมณ์, สุขภาวะทางจิตใจ
URL Website http://journalhuso.pnu.ac.th/
Website title วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ISSN 2985-0258
Abstract การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการเสริมสร้างทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียดในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากเป็นวัยที่มักจะเผชิญกับความเครียดสูง จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและสังคม ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตใจและการเรียน ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญจึงนำทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียดมาใช้อบรมกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียด ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมปลาย จำนวน 64 คน โดยเครื่องมือวิจัยประกอบด้วยกิจกรรม 4 กิจกรรม แบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการสยบความเครียด เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียดหลังการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 10.00 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.82 ซึ่งนักเรียนมีทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียดก่อนการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 7.95 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.77 แสดงว่าทักษะหลังการเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการทุกด้านอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.34 ถึง 4.45 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าโครงการสยบความเครียด เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ สามารถพัฒนาทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียดของนักเรียนได้ ซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและทักษะการจัดการอารมณ์ของนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ ต่อไป
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ