![]() |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการในตลาดวันพุธ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จุรีวรรณ จันพลา |
Title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการในตลาดวันพุธ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน |
Contributor | ชุติกานต์ ครุฑบุญยงค์, พิชญธิดา เลียว, เพ็ญประภา ฆ้องประเสริฐ, ลภัสศรัณย์ สุริยะพันธุ์ |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Journal Vol. | 20 |
Journal No. | 71 |
Page no. | 23 |
Keyword | บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ผู้ประกอบการ, ความตั้งใจ |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru |
Website title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
ISSN | 2774-1109 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้นโยบาย การเข้าร่วมการฝึกอบรม ความวิตกกังวล การได้รับคำแนะนำ และการรับรู้ประโยชน์ของการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) ศึกษาปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง การได้รับการสนับสนุนทางสังคม ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์ และความตั้งใจใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) เปรียบเทียบความตั้งใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการในตลาดวันพุธ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 178 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ทราบนโยบายการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ไม่เคยเข้าร่วมการฝึกอบรมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความวิตกกังวลในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต้นทุนสูง ไม่เคยได้รับคำแนะนำให้รู้จักหรือใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรับรู้ประโยชน์ของการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน 2) ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม และกลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยการได้รับการสนับสนุนทางสังคมและความตั้งใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ผู้ประกอบการที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการขายสินค้าตลาด และประเภทสินค้าที่ขายแตกต่างกันมีความตั้งใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นเพศและระดับการศึกษาสูงสุด และ 4) ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง ปัจจัยการได้รับการสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยกลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์ ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นปัจจัยความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัวแปรสามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการได้ร้อยละ 48.90 |