ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและสารพฤกษเคมีของตำรับยาไทยพื้นบ้าน: ยาธาตุบรรจบและยาเหลืองปิดสมุทร
รหัสดีโอไอ
Creator เขมิกา เคียงณฟ้า มานอก
Title ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและสารพฤกษเคมีของตำรับยาไทยพื้นบ้าน: ยาธาตุบรรจบและยาเหลืองปิดสมุทร
Contributor ชารินันท์ แจงกลาง, กรรณิการ์ ขนานใต้, มลิวรรณ์ เพียรจริง
Publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Publication Year 2566
Journal Title KKU Science Journal
Journal Vol. 51
Journal No. 3
Page no. 278 - 293
Keyword ยาธาตุบรรจบ, ยาเหลืองปิดสมุทร, ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสีย, ท้องเสียแบบติดเชื้อ, บัญชียาหลักแห่งชาติ
URL Website https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/253792
Website title Thai Journal Online (ThaiJO)
ISSN 2586-9531
Abstract ยาธาตุบรรจบและยาเหลืองปิดสมุทรเป็นตำรับยาไทยแผนโบราณที่ปรากฏในบัญชียาหลักแห่งชาติ (NLEM) มีการใช้รักษาอาการโรคท้องเสียแบบที่ไม่ติดเชื้อ ในงานวิจัยนี้มีการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคโดยใช้วิธี Disc diffusion method หาความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง (MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) ผ่านวิธี Broth microdilution method นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบปริมาณของสารฟีนอลิกทั้งหมด สารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และสารแทนนินทั้งหมด โดยใช้เทคนิคทางสเปกโทรสโกปี การสกัดสารในยาจากตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำ น้ำกระสายยาจากเปลือกผลทับทิม และ 95% เอทานอล พบว่าสารสกัดเอทานอลจากยาเหลืองปิดสมุทรและสารสกัดน้ำกระสายยาจากยาธาตุบรรจบ แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสูงที่สุด มีค่า MIC เท่ากับ 3.91 - 31.25 และ 15.62 - 31.25 mg/ml ต่อเชื้อ E. coli ทุกสายพันธุ์ ตามลำดับ อย่างไรก็ดีสารสกัดเอทานอลจากยาธาตุบรรจบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสูงสุดต่อเชื้อ Enteroaggregative E. coli DMST 26453 (EAEC) โดยมีค่า MBC เท่ากับ 31.25 mg/ml ในส่วนของการทดสอบสารพฤกษเคมี สารสกัดเอทานอลจากยาเหลืองปิดสมุทร แสดงปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่ 294.43 ± 1.77 mg GAE/mg และปริมาณแทนนินทั้งหมดสูงที่ 159.79 ± 7.29 mg TAE/mg ในขณะที่สารสกัดน้ำกระสายยาของยาธาตุบรรจบ แสดงปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงเท่ากับ 13.43 ± 0.14 mg QE/mg และแทนนินทั้งหมดสูงที่ 182.52 ± 39.32 mg TAE/mg ดังนั้นยาธาตุบรรจบและยาเหลืองปิดสมุทรสามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในลำไส้บางชนิดในตระกูล E. coli ที่ก่อโรคท้องเสียได้ ข้อมูลเหล่านี้สนับสนุนภูมิปัญญาการรักษาทางการแพทย์แผนไทย ซึ่งรักษาโรคท้องเสียโดยใช้สมุนไพรที่มีความเป็นกรดและมีรสฝาด ช่วยลดการหลั่งน้ำในท่อทางเดินอาหารซึ่งอาจมีการศึกษาทางพรีคลินิกต่อไปในอนาคต
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ