รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในสามเณร และพระพี่เลี้ยงในกิจกรรมบรรพชาภาคฤดูร้อน ณ วัดแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน 2566
รหัสดีโอไอ
Creator อภิชน จีนเสวก
Title รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในสามเณร และพระพี่เลี้ยงในกิจกรรมบรรพชาภาคฤดูร้อน ณ วัดแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน 2566
Contributor กาญจนวรรณ บัวจันทร์
Publisher สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2568
Journal Title วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
Journal Vol. 9
Journal No. 1
Page no. 43-54
Keyword การระบาด, ไข้หวัดใหญ่, วัดขนาดใหญ่, บรรพชาภาคฤดูร้อน, อบรมสามเณร
URL Website https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
Website title https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
ISSN 3057-0824
Abstract ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลปทุมธานีว่า พบผู้ป่วยสามเณรที่เข้าร่วมกิจกรรมบรรพชาสามเณรประมาณ 5,000 รูป จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2566 ณ วัดแห่งหนึ่ง มีอาการเข้าข่ายตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่จำนวน 5 รายและยังพบผู้มีอาการสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่อีกหลายราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี จึงได้ออกสอบสวนโรคและควบคุมป้องกันโรคร่วมกับคณะกรรมการจัดอบรมของวัดแห่งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 21 - 25 เมษายน 2566 เป็นกรณีศึกษาเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้ระบาดและป้องกันการระบาดในการจัดงานครั้งถัดไป วิธีการศึกษา: การศึกษาระบาดวิทยาเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่มารับบริการกับโรงพยาบาลสนามของวัดแห่งหนึ่ง และสัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่ร่วมกับการศึกษา เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยศึกษาเชิงวิเคราะห์ด้วย Case-control study แบบ 1 : 2 โดยเปรียบเทียบกิจกรรม 4 กิจกรรมคือ 1. การเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมภายในไซต์อบรมที่มีการระบาด 2. การเข้าร่วมกิจกรรมในห้องนิทรรศการ 3. การเข้าร่วมชมภาพยนตร์ที่ห้องฉาย 3D 4. การเข้าร่วมพิธีเวียนประทักษิณ (บรรพชา) ร่วมกับศึกษาทางห้องปฏิบัติการและศึกษาทางสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา: ระหว่างวันที่ 3 - 30 เมษายน 2566 พบผู้ที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 327 ราย โดยพบสามเณร 308 ราย อัตราป่วย ร้อยละ 6.95 พระพี่เลี้ยง 19 ราย อัตราป่วย ร้อยละ 4.37 แต่ไม่พบการป่วยของเจ้าหน้าที่ในโครงการและไม่พบผู้เสียชีวิต โดยช่วงอายุที่พบจำนวนป่วยสูงสุด 10 - 14 ปี จากไซด์อบรมทั้งหมด 10 ไซต์ จากผลการศึกษาพบปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมภายในไซต์อบรมที่มีการระบาด ส่วนอีก 3 กิจกรรมภาพรวม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมในห้องนิทรรศการ การเข้าร่วมชมภาพยนตร์ที่ห้องฉาย 3D และการเข้าร่วมพิธีเวียนประทักษิณ (บรรพชา)ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการระบาดเนื่องจากกิจกรรมทั้ง 3 มีการกำกับระเบียบในการทำกิจกรรม ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวิธี RT-PCR พบสารพันธุกรรมไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3 การศึกษาสิ่งแวดล้อมพบว่า วัดจัดให้มีการแยกสถานที่ 10 ไซต์อบรมไม่ให้ติดต่อสัมผัสกัน แต่สามเณรยังสามารถเดินทางข้ามไซต์อบรมเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับสามเณรที่อยู่ในไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ไซต์ของตนได้ สรุปและวิจารณ์: การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้ สาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A(H3)ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค คือ การเข้าทำกิจกรรมร่วมกับไซต์ที่มีการระบาด ในการจัดกิจกรรมปีต่อไปควรออกแบบไม่ให้มีการติดต่อกันของสามเณรระหว่างไซต์อบรมอย่างเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น
สถาบันราชประชาสมาสัย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ