![]() |
แปรงสีฟันอัจฉริยะและผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก (การบูรณาการเทคโนโลยี และการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม) |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อันติมา อุดมศิริ |
Title | แปรงสีฟันอัจฉริยะและผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก (การบูรณาการเทคโนโลยี และการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม) |
Publisher | สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 30-42 |
Keyword | แปรงสีฟันอัจฉริยะ, สุขภาพช่องปาก, การดูแลเฉพาะบุคคล, เทคโนโลยีช่วยเหลือ |
URL Website | https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi |
Website title | https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi |
ISSN | 3057-0824 |
Abstract | บทนำ โรคทางช่องปากส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลก โดยมีผลต่อสุขภาพกาย อารมณ์ และเศรษฐกิจ แปรงสีฟันอัจฉริยะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาของแปรงสีฟันแบบเดิม และแปรงสีฟันไฟฟ้าแบบทั่วไปด้วยคุณสมบัติของการให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน และการดูแลสุขภาพช่องปากแบบเฉพาะบุคคล ช่วยปรับปรุงสุขอนามัยในช่องปากสำหรับประชากรกลุ่มต่างๆ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาและประสิทธิภาพของแปรงสีฟันอัจฉริยะในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยเน้นผลกระทบต่อกลุ่มประชากรที่หลากหลายและคุณสมบัติทางเทคโนโลยี ประโยชน์ในการกำจัดคราบจุลินทรีย์และดูแลเหรวมถึงความท้าทายและความสามารถของแปรงสีฟันอัจฉริยะในปัจจุบันและศักยภาพในอนาคต เพื่อพัฒนาการดูแลสุขอนามัยในช่องปาก วิธีการศึกษา ทบทวนวรรณกรรมแบบ Systematic review และวิเคราะห์การพัฒนาการใช้งานและประสิทธิภาพของแปรงสีฟันอัจฉริยะ โดยคัดเลือกงานวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในปี ค.ศ. 2000 - 2024 จาก PubMed, Scopus และ Google Scholar โดยใช้คำค้นหาเช่น "แปรงสีฟันอัจฉริยะ" และ "เทคโนโลยีสุขภาพช่องปาก" งานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องศึกษาผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในประชากรที่หลากหลาย และมีการตัดบทความที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษหรือไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ออก ผลการศึกษาแปรงสีฟันอัจฉริยะปรับปรุงเทคนิคการแปรงฟัน ลดคราบจุลินทรีย์ และป้องกันโรคเหงือก มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เช่น การให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง Machine Learningทำให้การแปรงฟันมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยเพิ่มอัตราการขจัดคราบจุลินทรีย์ได้สูงถึง 87% เมื่อเทียบกับแปรงสีฟันทั่วไป นอกจากนี้เครื่องมือแบบอินเทอร์ แอคทีฟ เช่น เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR)และเกมมิฟิเคชัน อย่าง Brush Monster ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลช่องปากในเด็กและบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาทำให้สามารถแปรงฟันได้อย่างอิสระและลดภาระของผู้ดูแล แปรงสีฟันอัจฉริยที่มีบลูทูธและระบบติดตามข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน ยังช่วยให้การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้แปรงสีฟันอัจฉริยะยังช่วยทำความสะอาดอวัยวะเทียมในช่องปาก (Prosthetic cleaning) สำหรับผู้ไร้ฟัน (Edentulous patients) ช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือก และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน พบความท้าทายด้านราคาที่สูงและปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ยังคงเป็นอุปสรรคที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยเน้นไปที่นวัตกรรมที่ยั่งยืนและการเข้าถึงที่เท่าเทียมกัน สรุปแปรงสีฟันอัจฉริยะเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาการดูแลสุขภาพช่องปาก และช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มต่างๆ การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ร่วมกับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ นโยบายสนับสนุนและการทำงานร่วมกัน ระหว่างสาขาวิชาจะช่วยผลักดันให้การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นไปอย่างยั่งยืนและเข้าถึงได้ทั่วโลก |