![]() |
ผลลัพธ์ของการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อความวิตกกังวล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อติภา มีแสง |
Title | ผลลัพธ์ของการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อความวิตกกังวล |
Contributor | กิตติมา พูนประสิทธิ์, ธิดา สายปัน |
Publisher | สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 3-17 |
Keyword | การเตรียมความพร้อม, การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, ความวิตกกังวล |
URL Website | https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi |
Website title | https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi |
ISSN | 3057-0824 |
Abstract | การเตรียมความพร้อมก่อนการระงับความรู้สึก จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทำให้เกิดความร่วมมือในการดูแลรักษา เพื่อลดความวิตกกังวลและเพิ่มความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อระดับความวิตกกังวลและระดับความรู้ในการปฏิบัติตัว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจร่วมกับหัตถการอื่น โดยได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในสถาบันโรคทรวงอก จำนวน 70 ราย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2567 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 35 ราย และกลุ่มทดลอง 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญแบบวัดความรู้การปฏิบัติตัวก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8กลุ่มทดลองได้รับการเตรียมความพร้อม โดยแผนการสอน แผ่นภาพพลิกและแผ่นพับ การปฏิบัติตัวก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ที่ผู้วิจัยพัฒนาตามแนวคิดการปรับตนเองของลีเวนทาลและจอห์นสัน และแนวคิดความวิตกกังวลของสไปล์เบอร์เกอร์และคณะ ผ่านการตรวจสอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติร้อยละ และสถิติแมนท์-วิทนีย์ ยู ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองระดับความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองมีแนวโน้มลดลงแต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.052) ส่วนระดับความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย เพื่อผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนการระงับความรู้สึกสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) สรุปการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ สามารถเพิ่มความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจได้ |