![]() |
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสันติธรรม อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชนิดา คลีฉายา |
Title | การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสันติธรรม อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
Contributor | อาลัย จันทร์พาณิชย์, ภาราดร แก้วบุตรดี |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal of Interdisciplinary Buddhism |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 2 |
Page no. | R3256 |
Keyword | หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ประสิทธิภาพ, ความพึงพอใจ |
URL Website | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
Website title | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
ISSN | ISSN 2822-1222 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 โรงเรียนโรงเรียนวัดสันติธรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชียของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 15 ข้อ การหาคุณภาพเครื่องมือ พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีประสิทธิภาพโดยรวม (E1/E2) เท่ากับ 87.70/86.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?ar{X} = 21.97, S.D. = 1.87) และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?ar{X} = 27.37, S.D. = 1.69) พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?ar{X} = 4.65, S.D. = 0.48) |