การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสร้างนิทานในฝันผ่าน AI โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 สังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก
รหัสดีโอไอ
Creator พิชญาภา ยวงสร้อย
Title การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสร้างนิทานในฝันผ่าน AI โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 สังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก
Contributor พีรเดช บุญรอด
Publisher สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
Journal Vol. 3
Journal No. 2
Page no. 1-14
Keyword หลักสูตรฝึกอบรม, นิทาน, การจัดการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์, ปัญญาประดิษฐ์, ความคิดสร้างสรรค์
URL Website https://so19.tci-thaijo.org/index.php/ajld/issue/view/114
Website title Academic Journal of Local Development
ISSN ISSN 3057-0735 (Online)
Abstract ผลการประของ PISA ประจำปี 2022 พบว่า นักเรียนทั่วโลกเกือบ 80% มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ในระดับพื้นฐาน โดยสำหรับนักเรียนไทยประเทศไทยนักเรียนมากกว่าครึ่ง ประสบปัญหาการทำคะแนนเชิงความคิดสร้างสรรค์ระดับพื้นฐาน ทำให้ประเทศไทยได้คะแนนการคิดสร้างสรรค์อยู่ที่อันดับที่ 54 จาก 64 ประเทศ ดังนั้นหน่วยงานทางการศึกษาของประเทศไทยจำเป็นต้องหันมามองปัญหาและร่วมกันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและผู้เรียนโดยการใช้วิธีการสอนและนวัตกรรมต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จากเหตุและผลดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยสนใจที่ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 สังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างและหาคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมสร้างนิทานในฝันผ่าน AI โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์ 2. ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่สร้างขึ้น ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ภายหลังการฝึกอบรม กับเกณฑ์ร้อยละ 75 2.2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ปีการศึกษา 1/2567 จำนวน 70 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีการจับฉลาก โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.หลักสูตรฝึกอบรมฯ 2.แผนการจัดกิจกรรม 3.แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ 4.แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test one sample ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมฯ มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหาสาระ 3) กิจกรรมการฝึกอบรม และ 4) การประเมิน โดยหลักสูตรฝึกอบรมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ พบว่า 2.1 ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมฯ พบว่า ในภาพรวมมีค่าอยู่ในระดับมาก สรุปผลการวิจัย หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ