การออกแบบและพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือ (มัดหมี่) ด้วยสีธรรมชาติ จากเปลือกมะพร้าว :รายงานการวิจัย
รหัสดีโอไอ
Title การออกแบบและพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือ (มัดหมี่) ด้วยสีธรรมชาติ จากเปลือกมะพร้าว :รายงานการวิจัย
Creator ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Publication Year 2555
Keyword ผ้าฝ้ายทอมือ, สีย้อมและการย้อมสี, เปลือกมะพร้าว
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลวดลายผ้าฝ้ายทอมือมัดหมี่ด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าว ทดสอบโดยย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าวและใช้สารช่วยย้อม (Mordant)จากธรรมชาติ 5 ชนิด ได้แก่ โคลน สนิมเหล็ก น้ำขี้เถ้า (น้ำด่าง ) สารส้ม และน้ำปูนใส การทดลองพบว่ามีความเข้มของสีที่มีความคงทนต่อการซัก รวมทั้งสารช่วยย้อมแต่ละชนิดจะทำให้ได้เฉดของสีออกมาต่าง ๆกันไปในการทดลองย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าวพบว่า เฉดสีธรรมชาติที่ย้อมสีได้ จะแปรเปลี่ยนไปตามแต่ชนิดของสารช่วยย้อม โดยในการทดสอบสีต่อการซักจำนวน 5 ครั้ง และนำเส้นฝ้ายระหว่างสีจากเส้นฝ้ายที่ย้อมเส้นฝ้ายจากเปลือกมะพร้าวอ่อนกับสีจากเส้นฝ้ายที่ย้อมเส้นฝ้ายจากเปลือกมะพร้าวแก่ ผลจากการทดลองเปรียบเทียบเฉดสี โดยเฉพาะสีที่ย้อมเส้นฝ้ายจากเปลือกมะพร้าวแก่ พบว่าเส้นฝ้ายจะมีความเข้มของสีคงทนมากกว่า จึงได้เฉดสีที่ได้จากการใช้สารช่วยย้อมนำไปย้อมผ้าฝ้ายทอมือ (มัดหมี่) การออกแบบลวดลายผ้าฝ้ายทอมือ (มัดหมี่) จึงมีแนวคิดในเป็นการนำลวดลาย ผ้าจกมาพัฒนาด้วยการนำเสนอแนวคิดจากลวดลายผ้าจกดั่งเดิมในท้องถิ่น ซึ่งนับว่าเป็นลายเก่าแก่แต่โบราณลักษณะการจกมาพัฒนาเป็นกระบวนการทอมัดหมี่ โดยการออกแบบลายมัดหมี่จึงเป็นองค์ประกอบหลักสำคัญที่แสดงให้เห็นคุณค่าความสวยงามบนผืนผ้า จากผลการทดลองย้อมสีธรรมชาติที่ได้เลือกเฉดสีที่นำไปออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้ามัดหมี่ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาลวดลายผ้าฝ้ายทอมือ (มัดหมี่) จากเปลือกมะพร้าว ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ (มัดหมี่) ได้แก่ ผ้าฝ้ายทอมือ (มัดหมี่) จากเปลือกมะพร้าว ลายขนนก และผ้าฝ้ายทอมือ (มัดหมี่) จากเปลือกมะพร้าว ลายพลังใจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาการออกแบบสรรสร้างลวดลายมัดหมี่ให้มีความเป็นสากล
Language TH
URL Website https://dspace.rmutk.ac.th
Website title คลังความรู้ UTK
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.กรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ