![]() |
การทบทวนวรรณกรรมเพื่อสังเคราะห์ปัจจัยทางการเมืองที่นำไปสู่ “เจตนาในมหฆาตกรรมโดยรัฐ” |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิสิษฐิกุล แก้วงาม |
Title | การทบทวนวรรณกรรมเพื่อสังเคราะห์ปัจจัยทางการเมืองที่นำไปสู่ “เจตนาในมหฆาตกรรมโดยรัฐ” |
Publisher | คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
Journal Vol. | 16 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 277-292 |
Keyword | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศึกษา, เจตนาในมหฆาตกรรมโดยรัฐ, ความรุนแรงทางการเมือง |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polscicmujournal |
Website title | Political Science and Public Administration Journal |
ISSN | 2985-2269 |
Abstract | บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง การทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างทฤษฎี “เจตนาในมหฆาตกรรมโดยรัฐ” มีวัตถุประสงค์เพื่อการทบทวนวรรณกรรมจากงานวิชาการเกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมือง ผู้เขียนใช้วิธีพิจารณาโดยอุปนัยของเบคอน ในการวิเคราะห์ทฤษฎี และ/มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัยที่รัฐเลือกในการก่อมหฆาตกรรม เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยทางการเมืองที่นำไปสู่ “เจตนาในมหฆาตกรรมโดยรัฐ” จากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวข้างต้นผู้เขียนพบว่า ความรุนแรงทางการเมืองเป็นความรุนแรงที่มีลักษณะไม่สมมาตรทางอำนาจระหว่างผู้มีอำนาจรัฐที่อ้างความชอบธรรมในการทำลายล้างกลุ่มเหยื่อเพื่อประโยชน์ของรัฐ กับกลุ่มเหยื่อที่ถูกตีตราให้ด้อยกว่าในทางอำนาจ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้สังเคราะห์แบบแผนอันเป็นปัจจัยการศึกษาเจตนาในมหฆาตกรรมโดยรัฐจากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าว แบบแผนแรกคือ มหฆาตกรรมโดยรัฐมักเกิดขึ้นจากระบบปิดของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างผู้มีอำนาจรัฐ กับ กลุ่มเหยื่อ แบบแผนที่ 2 คือเจตนาของผู้มีอำนาจรัฐในการก่อมหฆาตกรรมโดยรัฐมี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความต้องการมีอำนาจควบคุมรัฐของผู้มีอำนาจรัฐ 2) ความมั่นคงภายในของรัฐ และ 3) การมองว่ากลุ่มเหยื่อเป็นคนอื่น ทั้งนี้ เจตนาทั้ง 3 นี้จะนำมาสู่ข้ออ้างความชอบธรรมในการก่อความรุนแรงต่อกลุ่มเหยื่อทั้งในเชิงจิตวิทยา และในเชิงปฏิบัติการ |