![]() |
ศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของชุมชนบางแม่หม้าย จังหวัดสุพรรณบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จิตราภรณ์ เถรวัตร |
Title | ศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของชุมชนบางแม่หม้าย จังหวัดสุพรรณบุรี |
Contributor | อุทุมพร เรืองฤทธิ์, ฐาปกรณ์ ทองคำนุช, เบญจรงค์ พื้นสะอาด |
Publisher | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 44-57 |
Keyword | การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน, ทรัพยากรท่องเที่ยว, สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก, จังหวัดสุพรรณบุรี |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal |
Website title | วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ |
ISSN | 3027-6241 (Print) 3027-625X (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.ตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยวในชุมชนบางแม่หม้าย 2.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ 3.ศึกษาศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของชุมชนบางแม่หม้าย จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบรายการศึกษาชุมชน แบบตรวจสอบทรัพยากรทางการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย มีผู้ให้ข้อมูลจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 32 คน ผู้วิจัยได้นำข้อมูล มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จัดลำดับความสำคัญ จัดกลุ่มเนื้อหา รวมถึงการวิเคราะห์ จำแนก และสรุปประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า มีทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน ทรัพยากรวัฒนธรรม ได้แก่ วัดอาน บ้านเรือนไทย ทรัพยากรเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่ ประเพณีทำขวัญข้าวแม่โพสพ ประเพณีแข่งเรือยาว ทรัพยากรกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมนั่งรถอีแต๋นชมตาลกลุ่มและตาลเรียง 100 ต้น ทรัพยากรบริการ ระบบสาธารณูปโภคในชุมชน เช่น ไฟฟ้า ประปา สำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของชุมชนบางแม่หม้าย จุดแข็ง คือ ที่ตั้งเข้าถึงสะดวกเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบ จุดอ่อน ขาดแผนยุทธศาสตร์แผนตลาด แผนการอนุรักษ์และขาดบุคลากรเพื่อดำเนินการพัฒนา โอกาส ทิศทางในอนาคตที่ประชุมกลุ่มย่อยเห็นว่ามีโอกาสในการพัฒนา การท่องเที่ยวเพื่อให้สอดคล้องกระแสโลกด้านการท่องเที่ยวธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เกษตร และอาหาร เกษตรและอาหาร อุปสรรค อันเนื่องมาจากมีจุดหมายปลายทางที่มีคู่แข่งโดยรอบ ซึ่งเป็นอุปสรรคทางด้านการพัฒนาท่องเที่ยว ภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น อุทกภัย มลพิษทางน้ำ อากาศ ศักยภาพด้านทรัพยากรท่องเที่ยว มีความหลากหลาย มีทรัพยากรธรรมชาติที่โดดเด่น |