![]() |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | คชภัค จิรวัชรพล |
Title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร |
Contributor | บุญมี ยอมพันธ์, กรรณิกา แสงสุริศรี, คชศักย์ มหารมณ์ |
Publisher | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 29-43 |
Keyword | พฤติกรรมการออม, พนักงานบริษัทเอกชน, เขตพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal |
Website title | วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ |
ISSN | 3027-6241 (Print) 3027-625X (Online) |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออม และพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบผลรวมของสัดส่วนกำลังสอง และสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41 – 50 ปี สถานภาพโสด ไม่มีบุตร ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ลักษณะงานที่ปฎิบัติเป็นงานทางด้านงานการตลาด/การขาย ทำงานในระดับปฎิบัติการ (เจ้าหน้าที่/พนักงาน) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 40,000 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 30,000 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยตนเองเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการออม จะออมเมื่อมีโอกาสพิเศษ มีความไม่แน่นอนในการออม จำนวนเงินในแต่ละครั้งในการออมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท รูปแบบในการออมคือการนำเงินฝากธนาคาร เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์เท่ากับ 1.129 |