การพัฒนา Digital Platform เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator พงษ์สุธีร์ ทองเกลี้ยง
Title การพัฒนา Digital Platform เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย
Contributor พจนา ธัญญกิตติกุล
Publisher สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2568
Journal Title วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
Journal Vol. 9
Journal No. 1
Page no. 55-63
Keyword ดิจิทัลแพลตฟอร์ม, โรคเรื้อน, การดำเนินงานการกำจัดโรคเรื้อน
URL Website https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
Website title https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
ISSN 3057-0824
Abstract โรคเรื้อนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย แม้จำนวนผู้ป่วยจะมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงพบอุปสรรคสำคัญ เช่น ความล่าช้าในการรายงานผู้ป่วย การขาดมาตรฐาน การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนและข้อจำกัดทางเทคนิค ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและควบคุมโรค รวมถึงขัดขวางความพยายามระดับโลกในการกำจัดโรคเรื้อน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Zero Leprosy ขององค์การอนามัยโลก การศึกษานี้จึงมุ่งวิเคราะห์แนวทางนวัตกรรมในการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย โดยได้ดำเนินการทบทวนข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2558 - 2567) จากฐานข้อมูล PubMed และ Google Scholar โดยคัดเลือกบทความจากคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มดิจิทัล, AI, GIS และ Chatbot เพื่อพัฒนาและประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนนโยบาย Zero Leprosy ผลการศึกษาพบว่า มีบทความวิจัยเกี่ยวกับโรคเรื้อนใน PubMed จำนวน 7,528 บทความใน ScienceDirect จำนวน 9,282 บทความ และใน Google Scholar จำนวน 84,900 ใน Google Scholar โดยงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ AI สำหรับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อนมีจำนวน 202, 307 และ 17,800 บทความตามลำดับ งานวิจัยเกี่ยวกับ GIS มี 11, 62 และ 5,170 บทความ และการใช้ Chatbot หรือแอปพลิเคชันมือถือมี 59, 155 และ 9,220 บทความ งานวิจัยนี้เสนอแนวคิด Digital Platform เพื่อสนับสนุนการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย โดย AIช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย ติดตามผู้ป่วย และเผยแพร่ข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล ลดความล่าช้าในการรักษา และลดความเสี่ยงของความพิการ ระบบ GIS ช่วยติดตามความครอบคลุมของการรักษาเฝ้าระวังการแพร่ระบาด และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานผ่าน Timeline และข้อมูลการเดินทางของผู้ป่วยเพื่อควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วน Chatbot หรือแอปพลิเคชันมือถือให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเรื้อน การป้องกัน และการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง ตอบคำถามที่พบบ่อย และจัดเก็บข้อมูลสนทนาเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสาร และการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นนวัตกรรมเหล่านี้จึงมีศักยภาพในการขับเคลื่อนการกำจัดโรคเรื้อน ในประเทศไทยภายใต้นโยบาย Zero Leprosy ขององค์การอนามัยโลก
สถาบันราชประชาสมาสัย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ