![]() |
ความภักดีในการรับบริการของผู้ประกอบการสปาและนวดแผนไทยเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พงศ์สฎา เฉลิมกลิ่น |
Title | ความภักดีในการรับบริการของผู้ประกอบการสปาและนวดแผนไทยเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ |
Publisher | คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 181-195 |
Keyword | ความภักดีของลูกค้า, ผู้ประกอบการสปาและนวดแผนไทย, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba |
Website title | วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม |
ISSN | 2697-3715 (Print) 2697-3723 (Online) |
Abstract | บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความภักดีของผู้รับบริการสปาและนวดแผนไทยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจบริการสปาและนวดแผนไทย เพื่อสร้างให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจ เพิ่มรายได้ ลดคู่แข่งขันทางธุรกิจ รักษาฐานลูกค้าเดิม รวมถึงเพิ่มลูกค้าใหม่เพื่อความอยู่รอดของกิจการในสถานการณ์ของการแข่งขันที่สูง ซึ่งมีหลักการสร้างความภักดีเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องความภักดี หลักสำคัญเพื่อใช้ศึกษาในการสร้างความภักดีมี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความภักดีเชิงปัญญา (Cognitive Loyalty) มุ่งเน้นความภักดีที่เกี่ยวกับความเชื่อในตราสินค้าที่เป็นที่นิยมสำหรับผู้คนทั่วไป 2) ความภักดีทางอารมณ์ (Affective Loyalty) มุ่งเน้นความภักดีที่สะท้อนทัศนคติที่ดีหรือความชอบที่เกิดจากความพึงพอใจ 3) ความจงรักภักดีเชิงประสบการณ์ (Conative Loyalty) มุ่งเน้นความภักดีที่ก่อให้เกิดการพัฒนาของพฤติกรรม และ 4) ความภักดีเชิงการกระทำ (Action Loyalty) มุ่งเน้นความภักดีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนความตั้งใจไปสู่การกระทำพร้อมกับความเต็มใจ การศึกษาความภักดีในแต่ละด้านนั้น ธุรกิจควรทำการศึกษาบริบทและนำมาปรับเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดความสอดคล้องสมดุลกับวัตถุประสงค์และพันธกิจเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้การแข่งขันเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน |