![]() |
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการจัดการงานออกแบบและพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปิติสัณห์ อินทพิชัย |
Title | รูปแบบการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการจัดการงานออกแบบและพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัล |
Publisher | คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 79-92 |
Keyword | ยุคดิจิทัล, ศักยภาพ, การพัฒนาธุรกิจ, ผู้ประสานงานการออกแบบ |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba |
Website title | วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม |
ISSN | 2697-3715 (Print) 2697-3723 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาหลักสูตรการออกแบบภายในและควบคู่ไปกับรูปแบบการปรับปรุงการเรียนการสอน การฝึกอบรมสำหรับผู้ประสานงานออกแบบภายในและการพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัล และยังเป็นแนวทางจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ในการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาความต้องการด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะการเป็นผู้ประสานงานการออกแบบภายในและพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัล 2) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตในสาขาเหล่านี้ และ 3) เพื่อเป็นแนวทางการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมทรัพยากรบุคคล โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวน 17 ท่าน ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้ประสานงานโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตกแต่งภายใน วิเคราะห์ค่าระดับความสำคัญของความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะในแต่ละด้านโดยพิจารณาจากค่ามัธยฐาน (Median: Mdn) และนำค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range : IQR) พิจารณาระดับความสอดคล้องของตัวแปร ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับผู้ประสานงานการออกแบบภายในและพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ ประกอบด้วย 31 สมรรถนะย่อย ด้านทักษะ ประกอบด้วย 34 สมรรถนะย่อย และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย 23 สมรรถนะย่อย ด้านการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตควรสอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย ควรบูรณาการสมรรถนะหลัก 3 ประการ ควบคู่ไปกับ 88 สมรรถนะย่อย นำไปบูรณาการกับหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ตลอดจนหลักสูตรการศึกษาร่วมมือกับสถานประกอบการ ด้านแนวทางการจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ควรดำเนินการประเมินสมรรถนะย่อยที่ครอบคลุมทั้ง 88 สมรรถนะ โดยอิงตามทักษะความรู้ เพื่อระบุความสามารถเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการฝึกอบรม เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งส่งเสริมความก้าวหน้าอาชีพระยะยาว และเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง |