![]() |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจดื่มกาแฟของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ลัดดา ปินตา |
Title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจดื่มกาแฟของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ |
Contributor | พินิจ เนื่องภิรมย์ |
Publisher | คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 1-22 |
Keyword | ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจดื่มกาแฟของผู้บริโภค, กาแฟในจังหวัดเชียงใหม่ |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba |
Website title | วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม |
ISSN | 2697-3715 (Print) 2697-3723 (Online) |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจดื่มกาแฟของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ โดยขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยดื่มกาแฟในจังหวัดเชียงใหม่ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง การเก็บแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย แจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบทางเดียว วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ค้นหาตัวพยากรณ์ และสร้างสมการพยากรณ์โดยใช้วิธี Enter เป็นการพยากรณ์โดยมีรูปแบบของสมการ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ช่วงอายุประมาณ 21-30 ปี อาชีพ นักเรียนนักศึกษา มีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท สำหรับพฤติกรรมของผู้บริโภค 6W1H พบว่าสายพันธุ์กาแฟที่เลือกดื่ม อะราบีกา ชนิดกาแฟที่เลือกดื่ม เป็นแบบเย็น วัตถุประสงค์การเลือกดื่มกาแฟ เพื่อสร้างความกระปรี้กระเปร่า ลดการง่วงนอน ความถี่ในการดื่มกาแฟ อยู่ที่ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเวลาในการดื่มกาแฟ เป็นช่วงเที่ยง 12.01-13.00 น. ค่าใช้จ่ายในการดื่มกาแฟอยู่ 51-100 บาทต่อครั้ง บุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจดื่มกาแฟ คือ เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน การทดสอบสมมติฐาน พบว่า อาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจดื่มกาแฟที่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค ได้แก่ ชนิดกาแฟที่ดื่ม วัตถุประสงค์ที่ดื่ม ความถี่ในการดื่มและค่าใช้จ่ายที่ดื่ม แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจดื่มกาแฟที่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจดื่มกาแฟ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 |