การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่คอล่อนศรีวิชัยลูกผสม
รหัสดีโอไอ
Creator จรีวรรณ จันทร์คง
Title การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่คอล่อนศรีวิชัยลูกผสม
Contributor ณปภัช ช่วยชูหนู, บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 216-228
Keyword ไก่คอล่อนศรีวิชัยลูกผสม, การผลิต, การตลาด
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่คอล่อนศรีวิชัยลูกผสม ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่คอล่อนศรีวิชัยลูกผสม จำนวน 30 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ผลการศึกษาด้านต้นทุนผลตอบแทนการผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัยลูกผสม พบว่า เกษตรกรมีรายได้สุทธิต่อรอบการผลิต จำนวน 3.09 บาท/ตัว/รอบการผลิต และรายได้เหนือต้นทุนเงินสด จำนวน 18.68 บาท/ตัว/รอบการผลิต และมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (ROI) เท่ากับ 2.82 ด้านต้นทุนรวมในการเลี้ยงไก่คอล่อนศรีวิชัยลูกผสม เป็นจำนวน 109.41 บาท/ตัว/รอบการผลิต โดยแยกเป็นต้นทุนคงที่ ประกอบด้วย ค่าเสื่อมราคาโรงเรือนและอุปกรณ์ ค่าเสียโอกาสการใช้ที่ดิน และค่าเสียโอกาสเงินลงทุน โดยเป็นค่าเสียโอกาสเงินลงทุนมากที่สุด ด้านต้นทุนผันแปรรวม ประกอบด้วย ค่าอาหาร ร้อยละ 72.93 ค่าพันธุ์ ร้อยละ 10.97 และ ค่าเสียโอกาสแรงงานครัวเรือนที่ไม่เป็นเงินสด ร้อยละ 8.96 ตามลำดับ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า กลุ่มเกษตรกรนิยมจำหน่ายไก่พื้นเมืองลูกผสม ให้กับผู้บริโภคในชุมชน ร้านอาหารในชุมชน หรือกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนฯ โดยตรงมากที่สุด เนื่องจากความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร และทำการติดต่อซื้อขายไก่พื้นเมืองหลากหลายสายพันธุ์กันมาเป็นระยะเวลายาวนาน รองลงมาคือจำหน่ายให้แก่ พ่อค้ารวบรวมในท้องถิ่น และจำหน่ายให้แก่พ่อค้าส่ง/พ่อค้าปลีกที่มารับซื้อในชุมชน ตามลำดับ ทั้งนี้จากการประชุมกลุ่มย่อย ร่วมกับเกษตรกร พ่อค้ารวบรวม พ่อค้าส่ง/พ่อค้าปลีกไก่พื้นเมืองลูกผสม และผู้ประกอบการร้านอาหาร รวมจำนวน 12 ราย เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัยลูกผสมเชิงการค้า โดยใช้เครื่องมือทางการตลาด (4P’s) ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้บริโภคนิยมไก่พื้นเมืองลูกผสมที่มีความนุ่ม แน่น และไม่เหนียว น้ำหนักตัวประมาณ 1.2 – 1.5 กิโลกรัม ด้านราคา โดยมีระดับราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพที่คาดว่าจะได้รับ ส่วนช่องทางการจัดจำหน่าย การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งการส่งเสริมการตลาด ในส่วนของการให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการที่ดีจากไก่พื้นเมืองลูกผสม อีกทั้งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรช่วยกันประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อเพิ่มปริมาณความต้องการบริโภคไก่พื้นเมืองลูกผสมในอนาคต
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ