ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
รหัสดีโอไอ
Creator รัตนา อุ่นจันทร์
Title ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
Contributor นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิตร
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 204-215
Keyword พริกไทยสายพันธุ์ปะเหลียน, ต้นทุนและผลตอบแทน
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการปลูกพริกไทยสายพันธุ์ปะเหลียน ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน เพื่อประโยชน์สำหรับการวางแผนในส่งเสริมการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม คล้ายคลึงกันให้ก้าวหน้าขึ้น โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 21 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.33 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือ สูงกว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.61 คน ทำการเกษตรเฉลี่ย 1.95 คน รายได้เฉลี่ย 18,095.23 บาทต่อเดือน มีหนี้สินเฉลี่ย 374,117.64 บาทต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรจากโทรทัศน์ และมีการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรทุกวัน ระบบการปลูกพริกไทยสายพันธุ์ปะเหลียนของเกษตรกรนั้น พบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกพริกไทยมาแล้วเฉลี่ย 2.57 ปี มีพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 10.52 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกพริกไทยเฉลี่ย 1.71 ไร่ แหล่งพันธุ์เริ่มต้นปลูกครั้งแรกได้มาจากในหมู่บ้าน ปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นหลัก แต่ไม่เคยผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการปลูกพริกไทยมาก่อน ลักษณะการปลูกเป็นเชิงเดี่ยว ต้นพันธุ์ใช้การปักชำ มีการใช้ค้างเสาปูน ปลูกระยะ 2x2 เมตร เฉลี่ย 1.85 ต้นต่อค้าง ใช้แหล่งน้ำบาดาล ไม่มีการวิเคราะห์ธาตุอาหารดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกหลังปลูกเฉลี่ย 13.50 เดือน และเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งต่อไปเฉลี่ย 3.50 เดือน การใช้ปัจจัยการผลิตในกรณีปลูกสร้างแปลงพริกไทยใหม่ (อายุไม่เกิน 1 ปี) มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 85,565.48 บาทต่อไร่ กรณีแปลงพริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้ว (อายุ 1 ปีขึ้นไป) มีผลผลิตเฉลี่ย 127.50 กิโลกรัมแห้งต่อไร่ ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 400 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 48,640.00 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 2,123.59 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 2.17 บาทต่อไร่ รายได้สุทธิเฉลี่ย 46,948.00 บาทต่อไร่ และกำไรสุทธิเฉลี่ย 46,911.00 บาทต่อไร่ ถึงแม้จะให้ผลผลิตแห้งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น เช่น พันธุ์ซาลาวัค ของพื้นที่ การผลิตจังหวัดจันทบุรีและระยอง แต่เกษตรกรได้รับราคาที่ค่อนข้างดีกว่าราคาในพื้นที่อื่น ๆ และใช้ปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยที่เน้นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต้นทุนต่ำกว่าปุ๋ยเคมี และสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมการผลิตหรือปลูกพริกในวิธีการดังกล่าวเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มองค์ความรู้ในการผลิตตามหลักวิชาการให้แก่เกษตรกรตามปัญหาที่ประสบ
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ