การสำรวจไวรัสโคโรนาในนกในประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator ภัคพล ศิลปานนท์
Title การสำรวจไวรัสโคโรนาในนกในประเทศไทย
Contributor เจริญชัย โตไธสง, กิรณา นรเดชานนท์, อนัญพร สุภัทรกุล, ณัฐกานต์ ทิพม้อม
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 190-203
Keyword นก, ไวรัสโคโรนา, เดลตาโคโรนาไวรัส, แกมมาโคโรนาไวรัส, ประเทศไทย
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract เชื้อไวรัสโคโรนาเป็นเชื้อที่พบได้ในสัตว์หลายชนิดและก่อให้เกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อันเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพคน สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า การเฝ้าระวังไวรัสโคโรนาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้นำไปสู่การค้นพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จำนวนมาก แต่ยังมีการศึกษาเชื้อไวรัสโคโรนาในนกธรรมชาติน้อยมาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงสำรวจเชื้อไวรัสโคโรนาในกลุ่มนกชายเลน นกเป็ดน้ำ นกลุยน้ำ นกเกาะคอน และนกเขานกพิราบในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างสวอบปากและช่องทวารร่วม ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 เพื่อตรวจหาไวรัสโคโรนาทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสและการเปรียบเทียบลำดับรหัสพันธุกรรม ผลการศึกษาสามารถเก็บตัวอย่างนกทั้งสิ้น 530 ตัวอย่าง จากนก 24 ชนิด จำนวน 265 ตัว เป็นกลุ่มนกชายเลน กลุ่มเป็ดน้ำ กลุ่มนกเกาะคอน กลุ่มนกเขานกพิราบ และกลุ่มนกลุยน้ำ ร้อยละ 41.51 (110/265), 21.13 (56/265), 20.38 (54/265), 10.19 (27/265) และ 6.79 (18/265) ตามลำดับ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแสดงอัตราการพบเชื้อไวรัสโคโรนา ร้อยละ 6.03 (16/265) เป็นกลุ่มแกมมาโคโรนาไวรัส จากเป็ดแดง (Dendrocygna javanica) ร้อยละ 6.52 (3/46) และนกนางนวลแกลบเคราขาว (Chlidonias hybrida) ร้อยละ 2.63 (1/38) และกลุ่มเดลตาโคโรนาไวรัสจากนกยางควาย (Bubulcus coromandus) ร้อยละ 100 (6/6) นกกาน้ำ ปากยาว (Phalacrocorax fuscicollis) ร้อยละ 33.33 (2/6) นกยางเปีย (Egretta garzetta) ร้อยละ 28.57 (2/7) นกพิราบ (Columba livia) ร้อยละ 9.09 (1/11) และ นกนางแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) ร้อยละ 6.66 (2/30) โดยนกที่ตรวจพบเชื้อไม่มีอาการป่วยผิดปกติ เชื้อไวรัส ทั้ง 2 กลุ่ม เป็นเชื้อที่มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับเชื้อที่พบในนกกลุ่มเดียวกันในภูมิภาคอื่น จากการศึกษาในครั้งนี้ไม่พบเหตุการณ์การป่วยหรือตายผิดปกติของนกในพื้นที่ศึกษา อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงถึงการหมุนเวียนของเชื้อและบทบาทของนกต่อการถ่ายทอดเชื้อไวรัสในพื้นที่ประเทศไทย ดังนั้นควรดำเนินการเฝ้าระวังไวรัสโคโรนาในนกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าใจระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสในนกเหล่านี้และเพื่อติดตามวงจรการถ่ายทอดเชื้อไวรัสในภูมิภาคนี้
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ