การพัฒนากรอบแนวคิดปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจกับ กระบวนการวางแผนแบบรวมพลัง
รหัสดีโอไอ
Creator ขวัญชนก อำภา
Title การพัฒนากรอบแนวคิดปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจกับ กระบวนการวางแผนแบบรวมพลัง
Contributor รวี หาญเผชิญ
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2562
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 8
Journal No. 1
Page no. 288-313
Keyword การวางแผนแบบรวมพลัง, โครงสร้าง, ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print)
Abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของการวางแผนแบบรวมพลัง (Collaborative Planning) ภายใต้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้าง (Structure) และผู้กระทำการ (Agency) และผลที่เกิดขึ้นในรูปของการปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มาจากกระบวนการวางแผนแบบรวมพลัง โดยทบทวนวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า การวางแผนแบบรวมพลัง เป็นการวางแผนพัฒนาเมืองในรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เกิดการร่วมมือกันพัฒนาเมืองของทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองกับภาครัฐ จึงก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างภาครัฐ และผู้กระทำการ ที่อยู่ในภาคของประชาชนเป็นสำคัญ การกระทำร่วมกันในลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างสองขั้วความสัมพันธ์ที่ร่วมกันวางแผนพัฒนาเมือง โดยผู้กระทำการสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เพื่อการพัฒนาเมืองในรูปแบบใหม่ ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าทุกฝ่ายที่เข้ามาร่วมในกระบวนการดังกล่าว ต้องการช่วงชิงอำนาจเพื่อการได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตัวมากที่สุด ดั้งนั้นกระบวนการและบทบาทของนักวางแผนพัฒนาเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์ที่ลงตัวของทุกฝ่าย ซึ่งการวางแผนแบบรวมพลังจะสามารถลดทอนและกระจายอำนาจที่เกิดขึ้นไปยังทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการวางแผนพัฒนาเมือง โดยเฉพาะในระดับชุมชนและนโยบายที่เกิดขึ้นมาจากความต้องการของประชาชน
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ