![]() |
ปัญหาของมาตรา 13 และ มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธัญญา วงษ์กมลชุณห์ |
Title | ปัญหาของมาตรา 13 และ มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 |
Contributor | พูนศักดิ์ ไวสำรวจ, ภูมิ มูลศิลป์, เจตน์ สถาวรศีลพร |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2561 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 151-176 |
Keyword | ความเป็นกลาง, คำสั่งทางปกครอง, ศาลปกครอง |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | หลักความเป็นกลางหรือหลักความไม่มีส่วนได้เสีย จัดเป็นหลักกฎหมายทั่วไปในระบบกฎหมายปกครอง โดยหลักดังกล่าวได้ถูกบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จากการศึกษาพบว่ายังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการพิจารณาทางปกครองที่ไม่เป็นกลางตามมาตรา 13 และมาตรา 16 อยู่หลายประการ ได้แก่ 1.ปัญหาเกี่ยวกับการบัญญัติถึงกรณีการพิจารณาว่า กรณีใดขัดต่อหลักความเป็นกลางตามมาตรา 13 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยศึกษาและวิเคราะห์จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด กล่าวคือ “เหตุอื่น ๆ” หรือ “อย่างร้ายแรง” ในมาตรา 16 ยังคงมีความไม่ชัดเจน 2. ปัญหาเกี่ยวกับผลของคำสั่งทางปกครองที่ขัดหรือแย้งต่อหลักความเป็นกลาง เนื่องจากในส่วนผลของคำสั่งทางปกครองที่ฝ่าฝืนต่อหลักความเป็นกลางนั้น ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติไว้เลย โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักกฎหมายของหลักความเป็นกลางของฝ่ายปกครองในการออกคำสั่งทางปกครอง รวมถึงปัญหาของบทบัญญัติในมาตรา 13 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ผลการศึกษาพบว่าสมควรออกกฎกระทรวงมารองรับบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อสร้างความชัดเจนในการบังคับใช้หลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง การกำหนดผลทางกฎหมายในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหลักความเป็นกลาง รวมถึงกำหนดบทลงโทษแก่เจ้าหน้าที่ผู้เจตนาฝ่าฝืนหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเกี่ยวกับบทบัญญัติในเรื่องหลักความเป็นกลาง และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักความเป็นกลางในการออกคำสั่งทางปกครอง |