![]() |
การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จุลศักดิ์ สุขสบาย |
Title | การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 4 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 67-82 |
Keyword | การคิดเชิงคำนวณ, การพัฒนาแบบวัด |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj |
ISSN | 2985-1122 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 3) ศึกษาการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการคิดเชิงคำนวณ มีลักษณะเป็นแบบสถานการณ์ ให้นักเรียนแสดงความคิดโดยการเขียนตอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลผลความหมาย ส่วนสถิติเชิงอนุมานการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test (One-way ANOVA) กรณีที่พบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการวัดการคิดเชิงคำนวณที่เหมาะสมกับบริบทไทย 4 องค์ประกอบ คือ แนวคิดเชิงนามธรรม การแบ่งปัญหา การพิจารณารูปแบบ และการออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา หรืออัลกอริทึม 2) แบบวัดการคิดเชิงคำนวณ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.848 และ 3) ระดับการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีระดับการคิดเชิงคำนวณอยู่ในระดับดี และผลการเปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณ ตามตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า เพศที่ต่างกัน โดยรวม มีระดับการคิดเชิงคำนวณ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนระดับชั้นต่างกัน โดยรวม มีระดับการคิดเชิงคำนวณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |