![]() |
โครงการวิจัยเรื่องการจัดการปัญหาขยะเศษรังไหม โดยใช้นวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยแนวคิดความยั่งยืน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กมลภัทร์ รักสวน |
Title | โครงการวิจัยเรื่องการจัดการปัญหาขยะเศษรังไหม โดยใช้นวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยแนวคิดความยั่งยืน |
Contributor | สมเกียรติ อุรุเศรษฐานนท์, ปิยะพร คามภีรภาพพันธ์ |
Publisher | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 72-88 |
Keyword | เศษขยะรังไหม, นวัตกรรม, ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์, แนวคิดความยั่งยืน, ผ้าเดนิมสีบลูยีนส์, อุตสาหกรรมสิ่งทอแฟชั่นและเครื่องนุ่งห่ม |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal |
Website title | วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ |
ISSN | 3027-6241 (Print) 3027-625X (Online) |
Abstract | โครงการวิจัยเรื่องการจัดการปัญหาขยะเศษรังไหมโดยใช้นวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยแนวคิดความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1. เพื่อแก้ปัญหาขยะเศษรังไหมจากส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอแฟชั่นและเครื่องนุ่งห่ม 2. เพื่อใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากขยะเศษรังไหม 3. เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากผ้าเศษรังไหมนวัตกรรมสร้างสรรค์ เป็นวิจัยเชิงทดลองและวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลการทดลองในรูปแบบตารางและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการแก้ไขปัญหาขยะเศษรังไหมจากส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอแฟชั่นและเครื่องนุ่งห่ม โดยการนำเศษขยะรังไหมมาผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นเส้นใยและเส้นด้าย และทดสอบความแข็งแรงของเส้นด้ายและอัตราการยืดตัวก่อนขาด ตามมาตรฐาน ASTM D2256-97 ทดสอบความต้านทานแรงดึงของผ้า ตามมาตรฐาน ASTM 5035-90 และทดสอบความต้านแรงฉีกขาดของผ้าตามมาตรฐาน ASTM 1424-83 จากนั้นนำเส้นด้ายประมาณเบอร์ 5 Ne ไปทอเป็นผลิตภัณฑ์ผืนผ้าไหมลาย Twill ขึ้น 3 ลง 1 ผิวสัมผัสแคนวาสหรือผ้าดิบ 2) ผลการใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพิ่มมูลค่าเศษรังไหม โดยการทดสอบความแข็งของผ้าตามมาตรฐาน ASTM D-1388-08 พบว่า การตกแต่งผ้าด้วยสารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มีความเข้มข้นต่างกัน ไม่ส่งผลต่อความแข็งและสีของผ้า และมีความกระด้างมากกว่าผ้าที่ยังไม่ผ่านการตกแต่งเพียงเล็กน้อย และนำไปทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ E. coli และ S. aureus ผลพบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ในระดับดีในความเข้มข้น 20 กรัมต่อลิตร ในการทดสอบการดูดซึมน้ำของผ้าตามมาตรฐาน AATCC-792018 ผลพบว่าสามารถดูดซึมน้ำได้ดี และการทดสอบการซักล้างจำนวน 20 ครั้ง พบว่าผ้าที่ผ่านการตกแต่งด้วยสารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียยังคงมีประสิทธิภาพหลังการซักในระดับดี 3) ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยแนวคิดความยั่งยืน จากการสัมภาษณ์ได้วิเคราะห์พบว่าควรออกแบบเสื้อผ้าที่สนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเจเนเรชั่น Z รูปแบบเสื้อผ้าต้องสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ (Transformation clothing) และดูแลรักษาทำความสะอาดได้ง่าย ลักษณะรูปแบบตามสมัยนิยม มีความโดดเด่น เพื่อให้ผู้สวมใส่เกิดความมั่นใจในการนำเสนอตัวตนผ่านสื่อสังคมโซเชียลมีเดีย จึงได้ออกแบบเสื้อผ้าจำนวน 10 รูปแบบ ในธีมการผสมผสานกับธรรมชาติสู่ความยั่งยืน (Blending with nature themes) โดยใช้ผ้าจากโครงการวิจัยในครั้งนี้ทำแบบผ้าเดนิมสีบลูยีนส์ ซึ่งเป็นผ้าที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอ |